วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พัฒนาการของลัทธิชาตินิยม

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558


สาธรณรัฐฝรั่งเศสครั้งแรก (The First French Republic : ค.ศ. 1792 - 1804)

กฎหมายฉบับแรกสุดของสภาคอนเวนชั่นคือการประกาศสถาปนาประเทศฝเศสเป็นสาธารณรัฐ ยกเลิกระบบกษัตริย์และกล่าวหาว่าพระเจ้าหลุยที่ 16 ทรยศต่อชาติ ติดต่อกับศัตรูาอกประเทศจึงต้องถูกส่งเข้าเครื่องกิโยติน ข่าวนี้ทำความตกใจให้กับผู้นำประเทศยุโรปตะวันตกทั้งหมดจนอังกฤษตัดสินใจเข้าร่วมกับออสเตรีย ปรัสเซีย ดัทช์ เนเธอร์แลนด์ เสปน ปอร์ตุเกส ซาร์ดิเนีย และเนเปิล เป็นคณะพันธมิตรเพื่อทำลายฝ่ายปฏิวัติในฝรั่งเศส และฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ขึ้นใหม่ ภายในประเทศนั้นพวกพระ








วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558



การปฏิวัติฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสมีอิทธิพลทั่วยุโรปในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14





การปฏิวัติอเมริกัน
จักวรรดิอาณานิคมของชาวยุโรปในทวีปอเมริกาเหนือนั้นจะมีลักษณะเป็นมหานครที่มีชาวยุโรปที่มีชาวยุโรปอาศัยอยู่มากกว่าชาวพื้นเมือง







วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อารยธรรมโรมัน
ความล้มเหลวของกรีกที่พยายามจะสร้างอำนาจในบริเวณภาคตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียน เท่ากับเป็นการเปิดทางให้แก่มหาอำนาจใหม่ ในตอนปลายศตวรรษที่ 3 B.C. โรมก็เริ่มแผ่อำนาจล้มล้างโลกเฮเลนิสติคในบริเวณทะเลเมดิเรอเรเนียน อาจกล่าวได้ว่า ในขณะที่ชาวเอเธนส์ถือว่าสัญลักษณ์แห่งนครรัฐเจ้าของวัฒนธรรมของชาวกรีก คือ อะโครโปลิส

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อารยธรรมกรีก



ภูมิหลังของอารยธรรมกรีก


การปกครองของกรีก
การปกครองของกรีก มีลักษณะเป็นแบบนครรัฐ ซึ่งนครรัฐที่เด่น ๆ มีอยู่ด้วยกัน 2 นครรัฐ คือ สปาร์ตา และเอเธนส์ โดยที่เอเธนส์มีการพัฒนาการของการปกครองแบบประชาธิปไตย ในขณะที่รัฐสปาร์ตาอำนาจการปกครองอยู่ที่คณะปกครองที่ใช้อำนาจเด็ดขาด
ชาวกรีกโบราณเป็นผู้ที่เชื่อมั่นในคุณค่าของมนุษย์ในรูปปัจเจกชน เป็นคนช่างสังเกต มองโลกในแง่ดี มีเหตุผล และมีโลกทัศน์ที่กว้าง คุณลักษณะเหล่านี้ทำให้กรีกประสบความสำเร็จทางด้านอารยธรรม

ชาวกรีกเป็นพวกอินโด - ยูโรเปียน (Indo - Europeans) พวกหนึ่ง ซึ่งมีหลักแหล่งดั้งเดิมอยู่แถบบริเวณลุ่มแม่น้ำดานูบ (Danube Valley) เป็นชนเร่ร่อนซึ่งยังไม่มีความเจริญแต่อย่างใด เมื่อเปรียบเทียบกับพวกที่ตั้งรกรากอยู่ก่อนแล้วตามเกาะต่าง ๆ ทางตอนใต้ของคาบสมุทรกรีก เช่น พวกครีตัน (Cretans) ในระยะเวลาประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ชนพวกนี้ได้อพยพเข้าไปในแหลมกรีก พวกแรก คือ ไอโอเนียน (Ionians) อพยพเข้ามาครอบครองส่วนเหนือของคาบสมุทร บางกลุ่มกระจายไปตั้งถิ่นฐานแถบชายฝั่ง อีกพวกหนึ่ง คือ เอเคียน (Achaeans) เข้าไปทางใต้ มีชันชนะต่อไมซีเน (Mycenae) และทรอย (Troy) และเข้าครอบครองเกาะครีต พวกสุดท้ายที่เข้ามา คือ ดอเรียน (Dorians) พวกนี้รุกมาทางภาคกลางของคาบสมุทรและบริเวณชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะบริเวณตะวันออกของแหลมเพลอพอเนซัส (Peloponesus) และหมู่เกาะตอนใต้ทะเลเอเจียน ถึงประมาณปี 1,000 ก่อนคริสตกาล พวกดอเรียนสามารถยึดครองเมืองคนอร์ซัส (Knorsus) ศูนย์กลางของอารยธรรมไมโนน (Minoan Civilization) ได้สำเร็จ


พวกต่าง ๆ เหล่านี้เมื่อเข้ามาแล้วได้ผสมกับพวกแอลไปน์ (Alpine) นอร์ดิค (Nordic) เมดิเตอร์เรเนียน จึงกล่าวได้ว่าพวกเฮเลนหรือกรีกเป็นเชื้อชาติผสมพูดภาษาอินโด - ยูโรเปียน
อารยธรรมดั้งเดิมในแถบทะเลเอเจียน
ก่อนหน้าที่กรีกจะอพยพเข้ามาอยู่ในแหลมนี้ ปรากฎว่ามีชาวพื้นเมืองดั้งเดิมอาศัยอยู่ก่อนแล้ว คือ ชาวเกาะครีต หรือครีตัน (Cretan) ชาวครีตันส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย มีความเจริญทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย รู้จักประดิษฐ์เครื่องเคลือบดินเผา จากหลักฐานทางโบราณคดี เราทราบว่าในเกาะครีตแบ่งประชากรออกเป็นหลายกลุ่มภายใต้การปกครองของกษัตริย์องค์เดียวกัน ซึ่งอยู่ที่เมืองคนอร์ซัส ตำนานของกรีกกล่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินที่มีความสามารถมากที่สุดและสร้างความเจริญให้กับครีตทรงะระนามว่าว่า พระเจ้ามีนอส (Minos) และความเจริญของพวกครีตได้รับนามตามกษัตริย์ พระองค์นี้ว่า วัฒนธรรมไมโนน อยู่ในช่วงประมาณ 3,000 - 1,300 ปีก่อนคริสตกาล ประมาณปี 1,400 ก่อนคริสตกาล อำนาจของพวกครีตเริ่มเสื่อม เพราะไม่สามารถต่อต้านการรุกรานของพวกกรีกที่เริ่มอพยพมาทางภาคนี้ได้

อารยธรรมไมซีเน (Mycenae)
เมืองไมซีเนตั้งอยู่บนแหลมเพลอพอเนซัส พวกที่เข้ามาตั้งรกราก คือ เอเคียน (Achaeans) เป็นพวกนักรบได้รับชัยชนะเหนือพวกครีตประมาณปี 1,400 ก่อนคริสตกาล ได้รับอิทธิพลอารยธรรมจากครีตเป็นส่วนใหญ่ เช่น อักษร ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม การเดินเรือ การค้าขาย ระยะหลังเมื่อมีอำนาจมากขึ้นได้ทำลายเมืองคนอร์ซัสและแผ่อำนาจเหนือบริเวณทะเลเอเจียนทั้งหมดแทนพวกครีตัน
สภาพการเมืองและสังคมมีลักษณะคล้ายกับครีตและประเทศในตะวันออกใกล้ คือ มีระบบการปกครองแบบราชาธิปไตย ศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสตกาล ไมซีเนได้รับยกย่องว่าเป็นรัฐนำ และพระเจ้าอกาเมนอน (Agamenon) แห่งไมซีเน ได้รับยกย่องว่าเป็นใหญ่กว่ากษัตริย์อื่น ๆ สังคมไมซีเนแบ่งคนออกเป็นหลายชนชั้นเช่นเดียวกับประเทศในตะวันออกใกล้ คือ พวกขุนนาง นักรบ ข้าราชสำนัก พ่อค้า เสมียน ทาส อาชีพส่วนใหญ่ คือ กสิกรรมและค้าขาย ในด้านศาสนา ชาวไมซีเนนับถือเทพเจ้าต่าง ๆ ซึ่งอยู่บนเขาโอลิมเปีย รวมทั้งเทพเจ้าซีอุส (Zeus) เทพเจ้าเหล่านี้ต่อมาเป็นที่นับถือของชาวกรีกโดยทั่วไป

อารยธรรมทรอย (Troy)
เมืองทรอยตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชียไมเนอร์ เป็นนครเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งที่ได้รับอารยธรรมจากครีต ในปี ค.ศ. 1,870 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน คือ Heinrich Schliemann ได้ขุดพบซากเมืองทรอย พบว่าเมืองนี้สร้างซ้อนทับถมกันอยู่ถึง 9 เมือง ในมหากาพย์อีเลียดของโฮเมอร์ ได้เล่าถึงสงครามเมืองทรอยว่าเกิดขึ้นเพราะเจ้าชายเมืองทรอยไปแย่งชิงพระนางเฮเลน (Helen) ราชินีแห่งสปาร์ตามาเป็นของตน ทำให้ชาวกรีกโกรธแค้นทำสงครามและในที่สุดก็ได้ทำลายล้างเมืองทรอยเสีย นักโบราณคดีได้ขุดพบซากปรักหักพังและเครื่องทองที่มีค่า ทำให้ลงความเห็นว่าครั้งหนึ่งเมืองทรอยเคยเป็นศูนย์กลางการค้าที่มั่งคั่งในบริเวณทะเลเอเจียน

การรุกรานของพวกดอเรียน (ปี 1,100 - 800 ก่อนคริสตกาล)
พวกดอเรียนมีความเจริญด้อยกว่ากรีกพวกแรก ๆ ประมาณปี 1,300 ก่อนคริสตกาล พวกดอเรียนก็ได้เกาะครีตปี 1,200 - 1,100 ก่อนคริสตกาล ได้เข้าครอบครองไมซีเน เนื่องจากพวกนี้มีความดุร้ายและได้ทำลายเจริญของพวกเก่าลงหมด ทำให้กรีกเก่าดั้งเดิมต้องอพยพลี้ภัยไปอยู่ทางเอเธนส์และเอเชียไมเนอร์ พวกดอเรียนจึงสร้างบ้านเรือนของตนขึ้น ลูกหลานของพวกดอเรียนที่เรารู้จักกันดีก็คือ สปาร์ตัน และคอรินเธียน (Corinthians)

วิวัฒนาการการปกครองของกรีก
สภาพภูมิศาสตร์ของกรีกที่มีภูมิประเทศเป็นภูเขา คาบสมุทร อ่าว ฝั่งทะเลเว้าแหว่ง ล้วนแล้วแต่มีพัฒนาการต่อการปกครองในรูปแบบนครรัฐ (City - State) ที่เน้นถึงการพึ่งพาตนเองและสนใจแต่กิจการภายในรัฐของตน แต่ละนครรัฐจะประกอบไปด้วยบริเวณป้อมที่เรียกว่า อะโครโปลิส (Acropolis) อะโครโปลิสนี้ปกติจะใช้เป็นสถานที่ประชุมและเป็นศูนย์กลางทางศาสนา รอบ ๆ อะโครโปลิสจะเป็นที่สำหรับทำการเพาะปลูกและค้าขาย ประชาชนและชาวนาจำนวนมากสร้างบ้านเรือนอยู่รอบ ๆ บริเวณนี้
ลักษณะการปกครองของกรีกในนครรัฐ 
บางรัฐเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตยที่อำนาจการปกครองอยู่ที่กษัตริย์ สภาขุนนาง ( Council of Nobles) และสภาสามัญ (Assembly) สำหรับในบางรัฐ อำนาจของสภาขุนนางมีมากจนใช้อำนาจปกครองแทนกษัตริย์ได้ เท่ากับกษัตริย์ถูกลดบทบาทลงเป็นเพียงประธานในการประกอบกรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่โดยทั่วไปนครรัฐของกรีกเป็นทั้งหน่วยสังคมทางการเมือง และเป็นศูนย์กลางในการปกครอง ที่สำคัญ ๆ มีเอเธนส์ (Athens) ธีบีส (Thebes) เมการา (Megara) สปาร์ตา (Sparta) และคอรินธ์ (Corinth) บนแหลมเพลอพอเนซัส ไมเลตัส (Miletus) บนฝั่งเอเชียไมเนอร์ มีทิลีน(Metylene) และคาลซีส (Chalcis) ซึ่งเป็นเกาะอยู่ในทะเลเอเจียน นครรัฐเหล่านี้เป็นนครรัฐซึ่งเป็นที่รู้จักกัน มีความแตกต่างกันในด้านพื้นที่และประชากร รัฐสปาร์ตามีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางไมล์ ส่วนเอเธนส์มีเนื้อที่ประมาณ 1,060 ตารางไมล์ ในระยะที่เจริญที่สุด นครรัฐเอเธนส์และสปาร์ตามีพลเมืองพอ ๆ กัน คือ ประมาณ 400,000 คน ซึ่งถือว่ามีประชากรมากเป็น 3 เท่าของรัฐเพื่อนบ้าน
นครรัฐของกรีกได้ผ่านวิวัฒนาการทางการเมืองที่คล้ายคลึงกัน เริ่มประวัติศาสตร์ด้วยการปกครองแบบมีกษัตริย์ (Monarchies) ประมาณศตวรรษที่ 8 เปลี่ยนเป็นการปกครองอบบคณาธิปไตย์ (Oligachies) อีก 100 ปีต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบทรราชย์ (Tryants) ในที่สุดศตวรรษที่ 6 และ 5 ก็ได้ก่อตั้งระบบราชาธิปไตยขึ้น

สาเหตุของวิวัฒนาการทางการเมือง 
การเปลี่ยนแปลงครั้งแรกเป็นผลมาจากการรวมที่ดิน เนื่องจากเจ้าของที่ดินรายใหญ่ ๆ มีอำนาจทางเศรษฐกิจ ต้องการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองมาจากกษัตริย์และมอบอำนาจให้กับสภา (Council) ซึ่งพวกเขามีอิทธิพลิยู่ และในที่สุดพวกเจ้าของที่ดินเหล่านี้ได้ล้มอำนาจกษัตริย์โดยเด็ดขาด หลังจากนั้นจะเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความยุ่งยากทางการเมือง การขาดแคลนที่ดินทำให้ชาวกรีกจำเป็นต้องหาอาณานิคม ส่วนใหญ่จะอยู่ตามชายฝั่งทะเลเอเจียนและไอโอเนียน บางแห่งไกลไปทางตะวันออกถึงทะเลดำ และบางแห่งไกลไปทางตะวันถึงอิตาลีและเสปน ความต้องการขยายการค้าทำให้การขยายตัวนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลคือการปฏิวัติทางเศรษฐกิจในกรีก การค้าและการอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองเพิ่มขึ้น เกิดความมั่งคั่งในรูปใหม่ พวกชนชั้นกลางที่มีฐานะร่ำรวยต้องการมีสิทธิปกครองเหมือนชนชั้นสูง สำหรับผู้ที่มีฐานะยากจนต้องการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปเพื่อให้ฐานะของเขาดีขึ้น ชาวนาที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองพร้อมใจกันโจมตีพวกเจ้าของที่ดินรายใหญ่ ๆ อาจกล่าวได้ว่า ความไม่พอใจในการปกครองแบบทรราชย์และการเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจและสำนึกทางการเมืองของสามัญชน นำไปสู่การตั้งระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ในบรรดานครรัฐของกรีกทั้งหมด ที่เด่นที่สุด 2 รัฐที่น่าจะกล่าวถึงคือ นครรัฐสปาร์ตาและนครรัฐเอเธนส์

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558


เมโสโปเตเมีย
(Mesopotamia)

ถึงแม้ว่าารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมียจะเป็นอารยธรรมเกษตรกรรมเช่นเดียวกัน แต่การพัฒนารูปแบบแห่งอารยธรรมนั้นก็มิได้เป็นไปในทำนองเดียวกัน อย่างน้อยที่สุดในด้านความเชื่อถือหรือศาสนา อียิปต์มีความเชื่อในภพหน้า มีความหวังที่จะมาเกิดใหม่ในขณะที่ชาวเมโสโปเตเมียจะมองโลกในแง่ปลงทุกข์ หวาดกลัว และไม่คิดเรื่องที่จะกลับมาเกิดใหม่เลย แต่หวังว่าจะมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยในภพนี้เท่านั้น การเรียนเรื่องดินแดนพระจันทร์เสี้ยวนั้นแท้จริงคือการเรียนเรื่องอารยธรรมแห่งเอเชียตะวันตก ซึ่งจะประกอบด้วยอารยธรรมของชนเหล่านี้ คือ อารยธรรมของพวกบาบิโลเนีย แคลเดีย ในเขตเมโสโปเตเมีย อารยธรรมฮิบรูว์หรืออิสราเอล และอารยธรรมเปอร์เซีย

ถ้าอียิปต์คือ "ของขวัญแห่งลุ่มน้ำไนล์" บริเวณเมโสโปเตเมียก็น่าจะมีชื่ออย่างเดียวกันว่า "ของขวัญแห่งลุ่มน้ำไทกริส-ยูเฟรติส" แม่น้ำทั้งสองนี้มีต้นกำเนิดที่บริเวณที่ราบสูงอาร์เมเนียไหลมาทางตะวันออกเฉียงใต้สู่อ่าวเปอร์เซีย ปัจจุบันนี้แม่น้ำทั้งสองไหลมารวมกันที่บัสรา (Basra) แต่ในสมัยโบราณนั้นจะไหลตัดเดลต้าออกจากกัน โคลนตมที่แม่น้ำทั้งสองพัดมาทับถมกันนั้นเป็นดินสมบูรณ์ซึ่งมีประโยชน์ต่อการเกษตรกรรมเป็อย่างยิ่ง ทำให้ดินแดนนี้มีชื่อว่า "ดินแดนระหว่างแม่น้ำ" คือ "เมโสโปเตเมีย"

ดินแดนเมโสโปเตเมียนี้เป็นส่วนตะวันออกสุดเขตที่เรียกว่าดินแดนพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งทางตะวันตกสุดก็คือซีเรียและปาเลสไตน์ ส่วนบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติสนั้นจะเป็นดินแดนส่วนใหญ่ของเขตที่เรียกว่า "Fertile Crecent"