วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558
สาธรณรัฐฝรั่งเศสครั้งแรก (The First French Republic : ค.ศ. 1792 - 1804)
กฎหมายฉบับแรกสุดของสภาคอนเวนชั่นคือการประกาศสถาปนาประเทศฝเศสเป็นสาธารณรัฐ ยกเลิกระบบกษัตริย์และกล่าวหาว่าพระเจ้าหลุยที่ 16 ทรยศต่อชาติ ติดต่อกับศัตรูาอกประเทศจึงต้องถูกส่งเข้าเครื่องกิโยติน ข่าวนี้ทำความตกใจให้กับผู้นำประเทศยุโรปตะวันตกทั้งหมดจนอังกฤษตัดสินใจเข้าร่วมกับออสเตรีย ปรัสเซีย ดัทช์ เนเธอร์แลนด์ เสปน ปอร์ตุเกส ซาร์ดิเนีย และเนเปิล เป็นคณะพันธมิตรเพื่อทำลายฝ่ายปฏิวัติในฝรั่งเศส และฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ขึ้นใหม่ ภายในประเทศนั้นพวกพระ
วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558
การปฏิวัติฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสมีอิทธิพลทั่วยุโรปในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
การปฏิวัติอเมริกัน
จักวรรดิอาณานิคมของชาวยุโรปในทวีปอเมริกาเหนือนั้นจะมีลักษณะเป็นมหานครที่มีชาวยุโรปที่มีชาวยุโรปอาศัยอยู่มากกว่าชาวพื้นเมือง
จักวรรดิอาณานิคมของชาวยุโรปในทวีปอเมริกาเหนือนั้นจะมีลักษณะเป็นมหานครที่มีชาวยุโรปที่มีชาวยุโรปอาศัยอยู่มากกว่าชาวพื้นเมือง
วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558
อารยธรรมโรมัน
ความล้มเหลวของกรีกที่พยายามจะสร้างอำนาจในบริเวณภาคตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียน เท่ากับเป็นการเปิดทางให้แก่มหาอำนาจใหม่ ในตอนปลายศตวรรษที่ 3 B.C. โรมก็เริ่มแผ่อำนาจล้มล้างโลกเฮเลนิสติคในบริเวณทะเลเมดิเรอเรเนียน อาจกล่าวได้ว่า ในขณะที่ชาวเอเธนส์ถือว่าสัญลักษณ์แห่งนครรัฐเจ้าของวัฒนธรรมของชาวกรีก คือ อะโครโปลิส
ความล้มเหลวของกรีกที่พยายามจะสร้างอำนาจในบริเวณภาคตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียน เท่ากับเป็นการเปิดทางให้แก่มหาอำนาจใหม่ ในตอนปลายศตวรรษที่ 3 B.C. โรมก็เริ่มแผ่อำนาจล้มล้างโลกเฮเลนิสติคในบริเวณทะเลเมดิเรอเรเนียน อาจกล่าวได้ว่า ในขณะที่ชาวเอเธนส์ถือว่าสัญลักษณ์แห่งนครรัฐเจ้าของวัฒนธรรมของชาวกรีก คือ อะโครโปลิส
วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
อารยธรรมกรีก
ภูมิหลังของอารยธรรมกรีก
การปกครองของกรีก
การปกครองของกรีก มีลักษณะเป็นแบบนครรัฐ ซึ่งนครรัฐที่เด่น ๆ มีอยู่ด้วยกัน 2 นครรัฐ คือ สปาร์ตา และเอเธนส์ โดยที่เอเธนส์มีการพัฒนาการของการปกครองแบบประชาธิปไตย ในขณะที่รัฐสปาร์ตาอำนาจการปกครองอยู่ที่คณะปกครองที่ใช้อำนาจเด็ดขาด
ชาวกรีกโบราณเป็นผู้ที่เชื่อมั่นในคุณค่าของมนุษย์ในรูปปัจเจกชน เป็นคนช่างสังเกต มองโลกในแง่ดี มีเหตุผล และมีโลกทัศน์ที่กว้าง คุณลักษณะเหล่านี้ทำให้กรีกประสบความสำเร็จทางด้านอารยธรรม
ชาวกรีกเป็นพวกอินโด - ยูโรเปียน (Indo - Europeans) พวกหนึ่ง ซึ่งมีหลักแหล่งดั้งเดิมอยู่แถบบริเวณลุ่มแม่น้ำดานูบ (Danube Valley) เป็นชนเร่ร่อนซึ่งยังไม่มีความเจริญแต่อย่างใด เมื่อเปรียบเทียบกับพวกที่ตั้งรกรากอยู่ก่อนแล้วตามเกาะต่าง ๆ ทางตอนใต้ของคาบสมุทรกรีก เช่น พวกครีตัน (Cretans) ในระยะเวลาประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ชนพวกนี้ได้อพยพเข้าไปในแหลมกรีก พวกแรก คือ ไอโอเนียน (Ionians) อพยพเข้ามาครอบครองส่วนเหนือของคาบสมุทร บางกลุ่มกระจายไปตั้งถิ่นฐานแถบชายฝั่ง อีกพวกหนึ่ง คือ เอเคียน (Achaeans) เข้าไปทางใต้ มีชันชนะต่อไมซีเน (Mycenae) และทรอย (Troy) และเข้าครอบครองเกาะครีต พวกสุดท้ายที่เข้ามา คือ ดอเรียน (Dorians) พวกนี้รุกมาทางภาคกลางของคาบสมุทรและบริเวณชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะบริเวณตะวันออกของแหลมเพลอพอเนซัส (Peloponesus) และหมู่เกาะตอนใต้ทะเลเอเจียน ถึงประมาณปี 1,000 ก่อนคริสตกาล พวกดอเรียนสามารถยึดครองเมืองคนอร์ซัส (Knorsus) ศูนย์กลางของอารยธรรมไมโนน (Minoan Civilization) ได้สำเร็จ
พวกต่าง ๆ เหล่านี้เมื่อเข้ามาแล้วได้ผสมกับพวกแอลไปน์ (Alpine) นอร์ดิค (Nordic) เมดิเตอร์เรเนียน จึงกล่าวได้ว่าพวกเฮเลนหรือกรีกเป็นเชื้อชาติผสมพูดภาษาอินโด - ยูโรเปียน
อารยธรรมดั้งเดิมในแถบทะเลเอเจียน
ก่อนหน้าที่กรีกจะอพยพเข้ามาอยู่ในแหลมนี้ ปรากฎว่ามีชาวพื้นเมืองดั้งเดิมอาศัยอยู่ก่อนแล้ว คือ ชาวเกาะครีต หรือครีตัน (Cretan) ชาวครีตันส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย มีความเจริญทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย รู้จักประดิษฐ์เครื่องเคลือบดินเผา จากหลักฐานทางโบราณคดี เราทราบว่าในเกาะครีตแบ่งประชากรออกเป็นหลายกลุ่มภายใต้การปกครองของกษัตริย์องค์เดียวกัน ซึ่งอยู่ที่เมืองคนอร์ซัส ตำนานของกรีกกล่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินที่มีความสามารถมากที่สุดและสร้างความเจริญให้กับครีตทรงะระนามว่าว่า พระเจ้ามีนอส (Minos) และความเจริญของพวกครีตได้รับนามตามกษัตริย์ พระองค์นี้ว่า วัฒนธรรมไมโนน อยู่ในช่วงประมาณ 3,000 - 1,300 ปีก่อนคริสตกาล ประมาณปี 1,400 ก่อนคริสตกาล อำนาจของพวกครีตเริ่มเสื่อม เพราะไม่สามารถต่อต้านการรุกรานของพวกกรีกที่เริ่มอพยพมาทางภาคนี้ได้
อารยธรรมไมซีเน (Mycenae)
เมืองไมซีเนตั้งอยู่บนแหลมเพลอพอเนซัส พวกที่เข้ามาตั้งรกราก คือ เอเคียน (Achaeans) เป็นพวกนักรบได้รับชัยชนะเหนือพวกครีตประมาณปี 1,400 ก่อนคริสตกาล ได้รับอิทธิพลอารยธรรมจากครีตเป็นส่วนใหญ่ เช่น อักษร ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม การเดินเรือ การค้าขาย ระยะหลังเมื่อมีอำนาจมากขึ้นได้ทำลายเมืองคนอร์ซัสและแผ่อำนาจเหนือบริเวณทะเลเอเจียนทั้งหมดแทนพวกครีตัน
สภาพการเมืองและสังคมมีลักษณะคล้ายกับครีตและประเทศในตะวันออกใกล้ คือ มีระบบการปกครองแบบราชาธิปไตย ศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสตกาล ไมซีเนได้รับยกย่องว่าเป็นรัฐนำ และพระเจ้าอกาเมนอน (Agamenon) แห่งไมซีเน ได้รับยกย่องว่าเป็นใหญ่กว่ากษัตริย์อื่น ๆ สังคมไมซีเนแบ่งคนออกเป็นหลายชนชั้นเช่นเดียวกับประเทศในตะวันออกใกล้ คือ พวกขุนนาง นักรบ ข้าราชสำนัก พ่อค้า เสมียน ทาส อาชีพส่วนใหญ่ คือ กสิกรรมและค้าขาย ในด้านศาสนา ชาวไมซีเนนับถือเทพเจ้าต่าง ๆ ซึ่งอยู่บนเขาโอลิมเปีย รวมทั้งเทพเจ้าซีอุส (Zeus) เทพเจ้าเหล่านี้ต่อมาเป็นที่นับถือของชาวกรีกโดยทั่วไป
เมืองทรอยตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชียไมเนอร์ เป็นนครเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งที่ได้รับอารยธรรมจากครีต ในปี ค.ศ. 1,870 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน คือ Heinrich Schliemann ได้ขุดพบซากเมืองทรอย พบว่าเมืองนี้สร้างซ้อนทับถมกันอยู่ถึง 9 เมือง ในมหากาพย์อีเลียดของโฮเมอร์ ได้เล่าถึงสงครามเมืองทรอยว่าเกิดขึ้นเพราะเจ้าชายเมืองทรอยไปแย่งชิงพระนางเฮเลน (Helen) ราชินีแห่งสปาร์ตามาเป็นของตน ทำให้ชาวกรีกโกรธแค้นทำสงครามและในที่สุดก็ได้ทำลายล้างเมืองทรอยเสีย นักโบราณคดีได้ขุดพบซากปรักหักพังและเครื่องทองที่มีค่า ทำให้ลงความเห็นว่าครั้งหนึ่งเมืองทรอยเคยเป็นศูนย์กลางการค้าที่มั่งคั่งในบริเวณทะเลเอเจียน
การรุกรานของพวกดอเรียน (ปี 1,100 - 800 ก่อนคริสตกาล)
พวกดอเรียนมีความเจริญด้อยกว่ากรีกพวกแรก ๆ ประมาณปี 1,300 ก่อนคริสตกาล พวกดอเรียนก็ได้เกาะครีตปี 1,200 - 1,100 ก่อนคริสตกาล ได้เข้าครอบครองไมซีเน เนื่องจากพวกนี้มีความดุร้ายและได้ทำลายเจริญของพวกเก่าลงหมด ทำให้กรีกเก่าดั้งเดิมต้องอพยพลี้ภัยไปอยู่ทางเอเธนส์และเอเชียไมเนอร์ พวกดอเรียนจึงสร้างบ้านเรือนของตนขึ้น ลูกหลานของพวกดอเรียนที่เรารู้จักกันดีก็คือ สปาร์ตัน และคอรินเธียน (Corinthians)
วิวัฒนาการการปกครองของกรีก
สภาพภูมิศาสตร์ของกรีกที่มีภูมิประเทศเป็นภูเขา คาบสมุทร อ่าว ฝั่งทะเลเว้าแหว่ง ล้วนแล้วแต่มีพัฒนาการต่อการปกครองในรูปแบบนครรัฐ (City - State) ที่เน้นถึงการพึ่งพาตนเองและสนใจแต่กิจการภายในรัฐของตน แต่ละนครรัฐจะประกอบไปด้วยบริเวณป้อมที่เรียกว่า อะโครโปลิส (Acropolis) อะโครโปลิสนี้ปกติจะใช้เป็นสถานที่ประชุมและเป็นศูนย์กลางทางศาสนา รอบ ๆ อะโครโปลิสจะเป็นที่สำหรับทำการเพาะปลูกและค้าขาย ประชาชนและชาวนาจำนวนมากสร้างบ้านเรือนอยู่รอบ ๆ บริเวณนี้
ลักษณะการปกครองของกรีกในนครรัฐ
บางรัฐเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตยที่อำนาจการปกครองอยู่ที่กษัตริย์ สภาขุนนาง ( Council of Nobles) และสภาสามัญ (Assembly) สำหรับในบางรัฐ อำนาจของสภาขุนนางมีมากจนใช้อำนาจปกครองแทนกษัตริย์ได้ เท่ากับกษัตริย์ถูกลดบทบาทลงเป็นเพียงประธานในการประกอบกรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่โดยทั่วไปนครรัฐของกรีกเป็นทั้งหน่วยสังคมทางการเมือง และเป็นศูนย์กลางในการปกครอง ที่สำคัญ ๆ มีเอเธนส์ (Athens) ธีบีส (Thebes) เมการา (Megara) สปาร์ตา (Sparta) และคอรินธ์ (Corinth) บนแหลมเพลอพอเนซัส ไมเลตัส (Miletus) บนฝั่งเอเชียไมเนอร์ มีทิลีน(Metylene) และคาลซีส (Chalcis) ซึ่งเป็นเกาะอยู่ในทะเลเอเจียน นครรัฐเหล่านี้เป็นนครรัฐซึ่งเป็นที่รู้จักกัน มีความแตกต่างกันในด้านพื้นที่และประชากร รัฐสปาร์ตามีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางไมล์ ส่วนเอเธนส์มีเนื้อที่ประมาณ 1,060 ตารางไมล์ ในระยะที่เจริญที่สุด นครรัฐเอเธนส์และสปาร์ตามีพลเมืองพอ ๆ กัน คือ ประมาณ 400,000 คน ซึ่งถือว่ามีประชากรมากเป็น 3 เท่าของรัฐเพื่อนบ้าน
นครรัฐของกรีกได้ผ่านวิวัฒนาการทางการเมืองที่คล้ายคลึงกัน เริ่มประวัติศาสตร์ด้วยการปกครองแบบมีกษัตริย์ (Monarchies) ประมาณศตวรรษที่ 8 เปลี่ยนเป็นการปกครองอบบคณาธิปไตย์ (Oligachies) อีก 100 ปีต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบทรราชย์ (Tryants) ในที่สุดศตวรรษที่ 6 และ 5 ก็ได้ก่อตั้งระบบราชาธิปไตยขึ้น
สาเหตุของวิวัฒนาการทางการเมือง
การเปลี่ยนแปลงครั้งแรกเป็นผลมาจากการรวมที่ดิน เนื่องจากเจ้าของที่ดินรายใหญ่ ๆ มีอำนาจทางเศรษฐกิจ ต้องการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองมาจากกษัตริย์และมอบอำนาจให้กับสภา (Council) ซึ่งพวกเขามีอิทธิพลิยู่ และในที่สุดพวกเจ้าของที่ดินเหล่านี้ได้ล้มอำนาจกษัตริย์โดยเด็ดขาด หลังจากนั้นจะเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความยุ่งยากทางการเมือง การขาดแคลนที่ดินทำให้ชาวกรีกจำเป็นต้องหาอาณานิคม ส่วนใหญ่จะอยู่ตามชายฝั่งทะเลเอเจียนและไอโอเนียน บางแห่งไกลไปทางตะวันออกถึงทะเลดำ และบางแห่งไกลไปทางตะวันถึงอิตาลีและเสปน ความต้องการขยายการค้าทำให้การขยายตัวนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลคือการปฏิวัติทางเศรษฐกิจในกรีก การค้าและการอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองเพิ่มขึ้น เกิดความมั่งคั่งในรูปใหม่ พวกชนชั้นกลางที่มีฐานะร่ำรวยต้องการมีสิทธิปกครองเหมือนชนชั้นสูง สำหรับผู้ที่มีฐานะยากจนต้องการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปเพื่อให้ฐานะของเขาดีขึ้น ชาวนาที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองพร้อมใจกันโจมตีพวกเจ้าของที่ดินรายใหญ่ ๆ อาจกล่าวได้ว่า ความไม่พอใจในการปกครองแบบทรราชย์และการเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจและสำนึกทางการเมืองของสามัญชน นำไปสู่การตั้งระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ในบรรดานครรัฐของกรีกทั้งหมด ที่เด่นที่สุด 2 รัฐที่น่าจะกล่าวถึงคือ นครรัฐสปาร์ตาและนครรัฐเอเธนส์
วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
เมโสโปเตเมีย
(Mesopotamia)
ถึงแม้ว่าารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมียจะเป็นอารยธรรมเกษตรกรรมเช่นเดียวกัน แต่การพัฒนารูปแบบแห่งอารยธรรมนั้นก็มิได้เป็นไปในทำนองเดียวกัน อย่างน้อยที่สุดในด้านความเชื่อถือหรือศาสนา อียิปต์มีความเชื่อในภพหน้า มีความหวังที่จะมาเกิดใหม่ในขณะที่ชาวเมโสโปเตเมียจะมองโลกในแง่ปลงทุกข์ หวาดกลัว และไม่คิดเรื่องที่จะกลับมาเกิดใหม่เลย แต่หวังว่าจะมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยในภพนี้เท่านั้น การเรียนเรื่องดินแดนพระจันทร์เสี้ยวนั้นแท้จริงคือการเรียนเรื่องอารยธรรมแห่งเอเชียตะวันตก ซึ่งจะประกอบด้วยอารยธรรมของชนเหล่านี้ คือ อารยธรรมของพวกบาบิโลเนีย แคลเดีย ในเขตเมโสโปเตเมีย อารยธรรมฮิบรูว์หรืออิสราเอล และอารยธรรมเปอร์เซีย
ถ้าอียิปต์คือ "ของขวัญแห่งลุ่มน้ำไนล์" บริเวณเมโสโปเตเมียก็น่าจะมีชื่ออย่างเดียวกันว่า "ของขวัญแห่งลุ่มน้ำไทกริส-ยูเฟรติส" แม่น้ำทั้งสองนี้มีต้นกำเนิดที่บริเวณที่ราบสูงอาร์เมเนียไหลมาทางตะวันออกเฉียงใต้สู่อ่าวเปอร์เซีย ปัจจุบันนี้แม่น้ำทั้งสองไหลมารวมกันที่บัสรา (Basra) แต่ในสมัยโบราณนั้นจะไหลตัดเดลต้าออกจากกัน โคลนตมที่แม่น้ำทั้งสองพัดมาทับถมกันนั้นเป็นดินสมบูรณ์ซึ่งมีประโยชน์ต่อการเกษตรกรรมเป็อย่างยิ่ง ทำให้ดินแดนนี้มีชื่อว่า "ดินแดนระหว่างแม่น้ำ" คือ "เมโสโปเตเมีย"
ดินแดนเมโสโปเตเมียนี้เป็นส่วนตะวันออกสุดเขตที่เรียกว่าดินแดนพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งทางตะวันตกสุดก็คือซีเรียและปาเลสไตน์ ส่วนบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติสนั้นจะเป็นดินแดนส่วนใหญ่ของเขตที่เรียกว่า "Fertile Crecent"
วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
อารยธรรมอียิปต์โบราณ
Ancient Egyptian Civilization
สภาพภูมิศาสตร์
อียิปต์ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทางทิศเหนือคือทะเลเมดิเตอเรเนียน ทางทิศตะวันออกคือทะเลแดง ทิศใต้คือนูเบียร์ หรือซูดานในปัจจุบัน ทิศตะวันตกคือทะเลทรายซาฮาร่า ภูมิอาศของอียิปต์โบราณนั้นมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง มีฝนตกเพียงเล็กน้อยในฤดูหนาว และตกเฉพาะบริเวณเดลต้า คือดินแดนสันดอนตอนบริเวณปากแม่น้ำไนล์ ลักษณะเช่นนี้มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกและเกษตรกรรม ดินแดนอียิปต์ตั้งอยู่ระหว่างหุบเขา นอกหุบเขาออกไปเป็นทะเลทราย ซึ่งถือเป็นพรมแดนธรรมชาติที่ช่วยป้องกันศัตรูภายนอกได้เป็นอย่างดี ตรงกลางหุบเขามีแม่น้ำไนล์ไหลผ่าน ซึ่งจะนำความชุ่มชื้นมาให้อียิปต์ และในเดือนมิถุนยาน-กรกฎาคมของทุกๆปี น้ำจะท่วมทั้งสองฝั่ง และจะเริ่มลดในเดือนตุลาคม หลังจากน้ำลดจะทิ้งโคลนตมไว้บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเป็นปุ๋ยอย่างดี ทำให้เกษตรกรรมได้ผลดี จากสภาพภูมิศาสตร์แบบนี้ ทำให้เฮโรโดตัส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกกล่าวว่า "Egypt is the gift of the Nile" ทำให้แม่น้ำไนล์มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของอียิปต์มาก ทำให้ชาวอียิปต์สามารถสร้างสรรค์อารยธรรมหรือความเจริญให้กับสังคมโลก
ความเจริญรุ่งเรืองของอียิปต์
ความเจริญในยุคโบราณ
ความเจริญของอียิปต์ในยุคโบราณในระยะเวลาประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอียิปต์จะอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ประชาชนมีอาชีพทางการเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ มีหัวหน้าหมู่บ้านปกครองดูแลความปลอดภัยให้กับชุมชน เมื่อพลเมืองเพิ่มมากขึ้น หมู่บ้านจึงขยายใหญ่ขึ้น ๆ จนกลายเป็นรัฐเล็ก ๆ ประมาณ 40 กว่ารัฐ ต่อมารัฐเหล่านี้ได้รวมตัวกันเข้าเป็นอาณาจักรใหญ่ 2 อาณาจักรด้วยกัน ได้แก่
(1) อียิปต์บน (Upper Egypt) ได้แก่ บริเวณที่แม่น้ำไนล์ไหลผ่านหุบเขา มีความยาว 800 ไมล์ กว้าง 15 - 20 ไมล์
(2) อียิปต์ต่ำ (Lower Egypt) ได้แก่ บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัดไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอเรเนียน บริเวณนี้เรียกว่า เดลต้า (Delta) มีความยาวประมาน 200 ไมล์ กว้าง 6 - 22 ไมล์
สมัยราชวงศ์
ระยะเวลาประมาณ 3,200 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์เมเนส (Menes) รวมอียิปต์บนและอียิปต์ต่ำเข้าด้วยกัน ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์ที่หนึ่งขึ้นปกครองอียิปต์ จากหลักฐานศิลาจารึกโรเชตตา (Rosetta Stone) ที่ขุดพบบริเวณปากแม่น้ำไนล์เมื่อปี ค.ศ. 1799 และต่อมาได้รับการตีความจากนักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ชองโปลิยอง (Champolion) ทำให้ได้ทราบประวัติศาสตร์ของอียิปต์เพิ่มขึ้นว่า สมัยราชวงศ์นี้แบ่งออกเป็นสมัยย่อยๆ 3 สมัย
สมัยราชอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom) ระยะเวลาประมาณ 3,000 - 2,100 ปีก่อนคริสตกาล ลักษณะการปกครองในสมัยอาณาจักรเก่าเป็นแบบรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลาง มีเมืองหลวงอยู่ที่ธีบีส (Thebes) ในอียิปต์บน ฟาโรห์ทรงเป็นหัวหน้ารัฐบาล ทรงออกกฎหมาย ทรงเป็นผู้พิพากษาสูงสุด ทรงเป็นผู้บัญชาการทัพบกและบัญชาการทางด้านพลเรือน นโยบายทางการปกครองของฟาโรห์ในยุคนี้คือ ไม่รุกรานใคร รักความสงบ
สมัยราชอาณาจักรเก่านี้ หลักฐานบอกว่ามีฟาโรห์ปกครองทั้งหมด 6 ราชวงศ์ ราชวงศ์ที่ 3 ได้ตั้งเมืองเมมฟิส (Memphis) เป็นเมืองหลวง ราชวงศ์ที่ 4 มีความเจริญทางศิลปะสูง ที่ทรงเน้นมากคือการสร้างพีระมิด ทำให้บางครั้งเรียกยุคนี้ว่า ยุคพีระมิด สมัยราชวงศ์ที่ 6 อาณาจักรเริ่มเสื่อม เพราะพวกขุนนางตามท้องถิ่นเริ่มมีอำนาจมาก ทำการกระด้างกระเดื่องและยึดอำนาจจากฟาโรห์ โดยเฉพาะตามท้องถิ่นต่าง ๆ เกิดการแย่งชิงอำนาจอยู่ประมาณ 200 ปี มีผลทำให้อำนาจของฟาโรห์อ่อนแอลงมาก
สมัยราชอาณาจักรกลาง (The Middle Kingdom) ประมาณ 2,100 - 1,580 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์เมเนมเฮท (Amenemhet) สร้างความมั่นคงให้กับอียิปต์ ทรงดึงอำนาจกลับคืนมาได้โดยได้รับความช่วยเหลือจากประชาชน จึงทรงตอบแทนโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองโดยมิได้คำนึงถึงชาติตระกูล สมัยของฟาโรห์พระองค์นี้อียิปต์เจริญรุ่งเรืองมาก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ศิลปกรรม อละวรรณคดี เรียกว่าเป็นยุคทองของอียิปต์เลยทีเดียว เหตุการณ์ต่อมาปรากฎว่าพวกฮิคโซส (Hylksos) ซึ่งเป็นอนารยชนป่าเถื่อนจากเขตปาเลสไตน์เข้ารุกรานอียิปต์ พวกนี้รู้จักใช้ม้าและรถศึกในการต่อสู้ ในขณะที่อียิปต์ใช้ทหารเดินเท้า ผลจากการที่ฮิคโซสเข้ามารุกรานทำให้ชาวอียิปต์เกิดความรู้สึกชาตินิยม มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รวมกำลังกันต่อต้านศัตรู ทำให้เริ่มมีความคิดในการเตรียมกำลังไว้ให้พร้อมที่จะรับกับข้าศึกในอนาคตด้วย
สมัยราชอาณาจักรใหม่ หรือสมัยจักรวรรดิ (The New Kingdom) ประมาณ 1,580 - 1,090 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์อาโมสที่ 1 (Ahmose I) ทรงเป็นผู้นำในการขับไล่พวกฮิคโซสออกไปได้สำเร็จ เป็นสมัยแห่งความเป็นปึกแผ่นกว่ายุคใด ๆ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการขยายอำนาจ ตีได้ดินแดนต่าง ๆ มากมาย เช่น ตีได้ดินแดนชายแดนตอนใต้คือนูเบีย ได้ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำไทกริส - ยูเฟรติส ขยายดินแดนไปถึงซีเรีย ปาเลสไตน์ เอธิโอเปีย อาณาจักรอียิปต์จึงยิ่งใหญ่จนเรียกได้ว่าเป็นจักรวรรดิ ลักษณะการปกครองดินแดนที่ยึดมาได้ จะให้เจ้าผู้ครองดินแดนเหล่านั้นปกครองกันเอง และให้นำตัวโอรสของผู้ครองแคว้นมาเป็นตัวจำนำที่อียิปต์
การแผ่ขยายอำนาจของอียิปต์ออกไปอย่างกว้างขวางก่อให้เกิดปัญหาตามมาคือ การปกครองดูแลไม่ทั่วถึง ความอ่อนแอของรัฐบาลกลางเริ่มปรากฎ โดยเฉพาะในสมัยของฟาโรห์อัคนาตัน (Akhnaton, 1375 - 1358 BC) หรืออาเมนโฮเตปที่ 4 (Amenhotep IV) ทรงให้ความสนพระทัยเป็นพิเศษกับความเชื่อทางศาสนาใหม่ที่ทรงตั้งขึ้น คือ อาเตน (Aten) การกระทำของพระองค์ก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชนมากขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อียิปต์อ่อนแอและเริ่มเสื่อมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งตกอยู่ใต้การปกครองของแอสซีเรียน เปอร์เซียน และมาซิโดเนียน ตามลำดับ หลังจากนั้นในยุคที่จักรวรรดิโรมันรุ่งเรือง อียิปต์ต้องตกอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันด้วย
มรดกอารยธรรมของอียิปต์
ความพยายามในการที่จะเอาชนะธรรมชาติและศัตรูภายนอกที่มารุกรานเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญให้อียิปต์ต่อสู้เพื่อความอยู่รอด จนประสบความสำเร็จและสามารถสร้างสรรค์ความเจริญให้กับโลกในหลายด้านด้วยกัน
การปกครอง
ฟาโรห์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศทั้งในยามสงครามและยามสงบ เป็นประมุขทั้งทางศาสนาและอาณาจักร ชาวอียิปต์เชื่อว่าฟาโรห์ทรงเป็นเทพเจ้าที่อวตารมาปกครอง ทรงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในการปกครองหลายระดับ อาทิเช่น วิเซีย (Vizier) ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ แทนฟาโรห์อยู่ในเมืองหลวง ดูแลการปกครองภายใน การเกษตร การชลประทาน รักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ นอกจากนี้ ฟาโรห์ยังทรงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่น โดยที่การบริหารงานการปกครองระดับทท้องถิ่นแบ่งออกเป็น โนมิส (Nomes) มีข้าหลวงประจำโนมิสที่เรียกว่า โนมาร์ค (Nomarches) ปกครองดูแลเกี่ยวกับการเก็บภาษี การรักษาความสงบปลดภัยในท้องถิ่น การพิจารณาพิพากษาคดี การชลประทาน
ทางด้านนการศาลซึ่งถือเป็นหน่วยหนึ่งของการปกครองนั้น ปรากฎว่าอียิปต์มีศาลถึง 6 ศาล มีหัวหน้าผู้พิพากษาเป็นผู้ดูแลความยุติธรรม คดีทุกคดีต้องขึ้นศาลทั้งสิ้น เมื่อคดีผ่านการพิจราณาแล้วถ้าประชาชนเห็นว่าไม่ยุติธรรม สามารถที่จะถวายฎีกาไปยังฟาโรห์ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสูงสุดได้
ศาสนา ชาวอียิปต์โบราณนับถือเทพเจ้าหลายองค์ (Polytheism) แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนมานับถือเทพเจ้าองค์เดียว (Monotheism) แต่ละนครรัฐมีเทพเจ้าประจำท้องถิ่นของตน เช่น อามอน (Amon) เป็นเทพเเจ้าประจำนครธีบีส เร, รา (Re, Ra) เป็นเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ โอซิริส (Osiris) เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์
นอกจากนี้ ชาวอียิปต์ยังเชื่อในเรื่องวิญญานเป็นอมตะและโลกหน้า จากความเชื่อนี้ จะทำให้ชาวอียิปต์โดยเฉพาะพวกชนชั้นสูงนิยมฝังศพคนตายไปพร้อม ๆ กับข้าวของเครื่องใช้และอาหาร ส่วนร่างกายก็จะเก็บรักษาไว้ไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทำเป็นมัมมี่ มีการสร้างสุสานไว้เก็บพระศพ ความเชื่อในเรื่องวิญญานเป็นอมตะทำให้ชาวอียิปต์เกิดความคิดเกี่ยวกับโลกนี้และโลกหน้า เชื่อว่าโลกหน้าจะเป็นโลกที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งผู้ตายจะต้องพิสูจน์ความดีของตนก่อนไปอยู่โลกหน้า ฉะนั้น ผู้ตายมักจะเขียนเรื่องราวแสดงความบริสุทธิ์และความดีของตนเพื่อน้ำไปแสดงต่อเทพเจ้าโอซิริส หนังสือนี้้เรียกว่า บันทึกของผู้วายชนม์ (Book of the Dead) ถ้าเขียนอยู่บนกำแพงพีระมิด เรียกว่า พีระมิดเท็กซ์ (Pyramid Texts) ส่วนที่เขียนไว้ตามฝาหีบศพ เรียกว่า คอฟฟินเท็กซ์ (Coffin Texts)
ศิลปะและสถาปัตยกรรม การสร้างพีระมิดถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 สิ่งของโลกโบราณเลยทีเดียว เพราะการสร้างพีระมิดต้องใช้แรงงานคนเป็นจำนวนมหาศาล พีระมิดที่เมืองกิเซ (Gizeh) สร้างถวายฟาโรห์คูฟู (Khufu) เป็นพีระมิดขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานคนถึงหนึ่งแสนคน กินระยะเวลาในการก่อสร้างนานถึง 20 ปี
สถาปัตยกรรมอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับการยกย่องไม่แพ้พีระมิด คือ การสร้างวัด โดยเฉพาะวิหารที่คาร์นัคและลุคซอร์ สร้างอย่างใหญ่โตและมั่นคงแข็งแรงมาก เพื่อแสดงถึงความมีอำนาจของฟาโรห์และความยิ่งใหญ่ของชาติ
ทางด้านประติมากรรม นิยมสร้างสรรค์งานในรูปแกะสลัก ที่เด่นคือ สฟิงซ์ (Sphinx) เป็นรูปสิงโตที่มีหน้าเป็นผู้หญิง อยู่ข้างที่ฝังพระศพของฟาโรห์คีออปส์ (Cheops) อีกรูปหนึ่งคือ พระเศียรของพระนางเนเฟอติติ (Nefertiti) มเหสีของฟาโรห์อิคนาตัน
วรรณคดีและการเขียนหนังสือ ชาวอียิปต์โบราณคิดประดิษย์ตัวอักษรขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล เรียกว่าอักษรเฮียโรกลีฟฟิก (Hieroglyphic) เป็นอักษรภาพที่ใช้เป็นเครื่องหมายแทนสิ่งต่าง ๆ พัฒนาเรื่อยมาจนเป็นตัวพยัญชนะ 24 ตัว ต่อมาอียิปต์ได้แบ่งตัวอักษรของตนเป็น 2 พวก คือ อักษรเฮียราติก (Hieratic) ใช้ในวงการธุรกิจติดต่อค้าขาย สำหรับอักษรเดโมติก (Demotic) นั้นใช้ทั่ว ๆ ไป
ทางด้านวรรณคดีอียิปต์นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น เพลงสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า
วิทยาศาสตร์ ชาวอียิปต์สนใจในเรื่องดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์มาก ทางด้านดาราศาสตร์นั้น มรการคำนวณระยะเวลาที่แม่น้ำไนล์ท่วมฝั่งเพื่อวางแผนสร้างพีระมิด มีการทำปฏิทินทางสุริยคติ ทำแผนที่เกี่ยวกับท้องฟ้าบอกทิศทางของดวงดาวต่าง ๆ เป็นที่น่าเสียดายว่าในสมัยหลัง ๆ ชาวอียิปต์ไม่ได้ให้ความสนใจต่อเรื่องเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ความก้าวหน้าในเรื่องนี้มีไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น
ส่วนทางด้านคณิตศาสตร์นั้น ชาวอียิปต์เป็นผู้วางรากฐานหลักวิชาเลขคณิตและเรขาคณิต รู้จักวิธีบวก ลบ และหาร แต่ไม่รู้จักวิธีคูณ ค้นพบระบบเลขทศนิยม รู้จักวิธีคำนวณหาปริมาตรของพีระมิด
การแพทย์ ในระยะแรก ๆ ยังรักษาพยาบาลคนป่วยไข้ด้วยความเชื่อในเรื่องเวทมนต์คาถา ประมาณ 1,700 ปีก่อนคริสตกาลเริ่มนำแนวทางของวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการรักษา ทำให้การแพทย์ของอยิปต์เจริญขึ้นเป็นลำดับ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เช่น จักษุแพทย์ ทันตแพทย์ และศัลยแพทย์ แพทย์อียิปต์มีความเข้าใจในความสำคัญของหัวใจ มีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัด รู้จักใช้น้ำเกลือรักษาบาดแผลเพื่อป้องกันการอักเสบ ใช้ด่างในการรักษาบาดแผล มีการค้นพบการทำน้ำยารักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย
วิทยาศาสตร์อีกสาขาหนึ่งที่ชาวอียิปต์มีความก้าวหน้าไม่แพ้ชนชาติอื่น คือ ความก้าวหน้าทางด้านชลประทาน ทำการทดน้ำด้วยวิธีสร้าง ขุดคูคลองระบายน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตรกรรมและการคมนาคม
การค้า ชาวอียิปต์ทำการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านหลายชนชาติ สินค้าออกที่สำคัญของอียิปต์ คือ ผ้าลินิน กระดาษปาปิรุสซึ่งทำมาจากต้นปาปิรุส เครื่องเพชรพลอย ส่วนสินค้าเข้า ได้แก่ ทองคำ วัว ควาย ปลา งาช้าง ขนนกกระจอกเทศ และเหล็ก การติดต่อค้าขายทำให้วัฒนธรรมและความเจริญของอียิปต์เผยแพร่เข้าไปในดินแดนต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย
อารยธรรมอียิปต์โบราณมีถิ่นกำเนิดบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ แม่น้ำไนล์ช่วยนำความอุดมสมบูรณ์มาให้แก่อียิปต์ ภายใต้การปกครองของฟาโรห์เมเนส ทรงรวมอียิปต์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ระบบการปกครองที่มีประสิทธิภาพช่วยให้อียิปต์สามารถสร้างสรรค์ความเจริญด้านต่าง ๆ ได้สำเร็จ
วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบของไทย
นักประวัติศาสตร์นิยมแบ่งช่วงเวลาทาประวัติศาสตร์ตามแบบไทย
ที่มีลักษณะเป็นรูปแบบของตนเอง ดังนี้
1.) แบ่งตามสมัยหรือตามเวลาที่เริ่มมีตัวอักษร
โดยแบ่งออกได้เป็น 2 สมัย ดังนี้
v สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง
ยุคที่ยังไม่มีการบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งออกเป็นยุคหิน (ยุคหินเก่า
ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่) และยุคโลหะ (ยุคสำริด ยุคเหล็ก) โดยมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในภูมิภาคต่าง
ๆ ของประเทศไทยตามลำดับ
v สมัยประวติศาสตร์ หมายถึง
ยุคที่มนุษย์เริ่มมีการใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ
จากหลักฐานที่ค้นพบได้แก่ หลักศิลาจารึก
2.) แบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร
ได้มีการแบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรทวารวดี(นครปฐม)
อาณาจักรละโว้(ลพบุรี) อาณาจักรตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช)
อาณาจักรศรีวิชัย(สุราษฎร์ธานี) อาณาจักรหริภุญชัย(ลำพูน)
3.) แบ่งยุคสมัยตามราชธานี
เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ตามราชธานีของไทยเรียงลำดับ เช่น สมัยสุโขทัย
สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี ปละสมัยรัตนโกสินทร์
4.)
แบ่งยุคสมัยตามพระราชวงศ์ เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามพระราชวงศ์
เช่น สมัยราชวงศ์พระร่วง ของอาณาจักรสุโขทัย สมัยราชวงศ์อู่ทอง
สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ สมัยราชวงศ์สุโขทัย สมัยราชวงศ์ปราสาททอง
สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง โดยทั้งหมดเป็นชื่อ พระราชวงศ์ที่ครองราชย์สมบัติเป็นกษัริย์ในสมัยอยุธยา
ราชวงศ์จักกรีในสมัยรัตนโกสินทร์
5.) แบ่งยุคสมัยตามรัชกาล
เป็นการแบ่งยุคสมัยในช่วงเวลาที่พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นครองราชย์อยู่ ได้แก่
รัชสมเด็จสมัยพระบรมไตรโลกนาถ รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
6.)
แบ่งยุคสมัยตามระบอบการเมืองการปกครอง ได้แก่
สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสมัยประชาธิปไตย โดยถือเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475
เป็นเส้นแบ่งยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากล
จุดมุ่งหมายในการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ เป็นยุคสมัยต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตและช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น
ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลแบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ
1) สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้
จึงยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
ดังนั้น การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ
เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับที่ทำจากหิน
โลหะ และโครงกระดูกมนุษย์
ปัจจุบันการกำหนดอายุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย อาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี แบบแผนการดำรงชีพและสังคม ยุคสมัยทางธรณีวิทยา
นำมาใช้ร่วมกันในการกำหนดยุคสมัย โดยสามารถแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้ดังนี้
1.1) ยุคหิน เริ่มเมื่อประมาณ 500,000 ถึง 4,000 ปี ล่วงมาแล้ว แบ่งเป็น 3 ยุคย่อย ดังนี้
·
ยุคหินเก่า (500,000 – 10,000 ปีมาแล้ว )
เป็นช่วงเวลาแรก ๆ ของมนุษยชาติ มนุษย์รู้จักใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะ
ในระยะแรก เครื่องมือจะมีลักษณะหยาบ
โดยนำหินกรวดแม่น้ำมากะเทาะเพียงด้านเดียวและไม่ได้กะเทาะหมดทั้งก้อน
ใช้สำหรับขุดสับและสับตัด มนุษย์
ในยุคหินเก่า ดำรงชีวิตอย่างเร่ร่อน ล่าสัตว์และหาของป่ากินเป็นอาหาร
ในยุคหินเก่า ดำรงชีวิตอย่างเร่ร่อน ล่าสัตว์และหาของป่ากินเป็นอาหาร
·
ยุคหินกลาง (10,000 – 6,000 ปีมาแล้ว)
เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับล่าสัตว์ด้วยหินที่มีความประณีตมากขึ้นและมนุษย์ในยุคหินกลางเริ่มรู้จักการอยู่รวมกลุ่มเป็นสังคมมากขึ้น
·
ยุคหินใหม่ (6,000 – 4,000 ปีมาแล้ว)
เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือด้วยหินขัดเป็นมันเรียบ เรียกว่า ขวานหินขัด ใช้สำหรับตัดเฉือนแบบมีดหรือต่อด้ามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือขุดหรือถาก
มนุษย์ยุคหินใหม่มีความเจริญมากกว่ายุคก่อน ๆ รู้จักตั้งถิ่นฐานเป็น
หลักแหล่ง รู้จักการเพาะปลูก
เลี้ยงสัตว์ ทำภาชนะดินเผา
1.2) ยุคโลหะ เป็นช่วงที่มนุษย์มีพัฒนาการด้านการทำเครื่องมือเครื่องใช้
โดยรู้จักการนำแร่ธาตุมาถลุงและหลอมใช้หล่อทำเป็นอาวุธหรือเครื่องมือและเครื่องประดับต่าง
ๆ แบ่งสมัยได้ตามวัตถุของโลหะ คือ
· ยุคสำริด (4,000 – 2,500 ปีมาแล้ว)
เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักใช้โลหะสำริด(ทองแดงผสมดีบุก)
ทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่ายุคหิน
อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น รู้จักปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์
· ยุคเหล็ก (2,500 – 1,500 ปีมาแล้ว)
เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักนำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีคุณภาพดีแข็งแกร่งกว่าสำริด การดำรงชีวิตด้วยการเกษตรกรรม
มีการติดต่อค้าขายระหว่างชุมชนต่าง
2) สมัยประวัติศาสตร์ เป็นยุคสมัยที่มนุษย์รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาใช้แล้ว
โดยได้มีการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ
ในยุคสมัยนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร มักพบอยู่ตาม
ผนังถ้ำ แผ่นดินเหนียว แผ่นหิน ใบลาน และแผ่นโลหะ
ชุมชนของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ
ก้าวเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ในระยะเวลาไม่เท่ากัน เนื่องด้วยความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสรรค์อารยธรรมความเจริญที่แตกต่างกัน
ดังนั้น สมัยประวัติศาสตร์ในทางสากล จึงแบ่งเป็น 3 ยุคย่อยๆ
ดังนี้
2.1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
เริ่มตั้งแต่ความเจริญของของแหล่งอารยธรรม เมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์โบราณ
และอารยธรรมกรีก โรมัน จนกระทั่งสิ้นสุดลงเมื่อกรุงโรม
ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักวรรดิถูกตีแตก โดยพวกอนารยชน ในปี พ.ศ. 1019
2.2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง
เริ่มภายหลังจากที่กรุงโรม (จักวรรดิโรมันตะวันตก) ถูกพวกอนารยชนตีแตกในปี พ.ศ.
1019 จนกระทั่งในปี ค.ศ.1996 สมัยกลางจึงสิ้นสุดลง เมื่อชนชาติเติร์ก
ที่นับถือศาสนาอิสลามเข้าโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล (จักวรรดิโรมันตะวันออก)
2.3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มภายหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกตีแตก เมื่อปี พ.ศ.1996 เป็นต้นมา จนกระทั้งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2488
มีเหตุการณ์สำคัญในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่หลายประการ เช่น
การปฏิรูปศาสนา การเกิดลัทธิหรือแนวความคิดแบบเสรีนิยม
ประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ ทางด้านเศรษฐกิจ
มีการขยายตัวทางการค้าทางเรือสำเภา การแสวงหาดินแดนใหม่และปฏิวัติอุตสาหกรรม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)