การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบของไทย
นักประวัติศาสตร์นิยมแบ่งช่วงเวลาทาประวัติศาสตร์ตามแบบไทย
ที่มีลักษณะเป็นรูปแบบของตนเอง ดังนี้
1.) แบ่งตามสมัยหรือตามเวลาที่เริ่มมีตัวอักษร
โดยแบ่งออกได้เป็น 2 สมัย ดังนี้
v สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง
ยุคที่ยังไม่มีการบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งออกเป็นยุคหิน (ยุคหินเก่า
ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่) และยุคโลหะ (ยุคสำริด ยุคเหล็ก) โดยมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในภูมิภาคต่าง
ๆ ของประเทศไทยตามลำดับ
v สมัยประวติศาสตร์ หมายถึง
ยุคที่มนุษย์เริ่มมีการใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ
จากหลักฐานที่ค้นพบได้แก่ หลักศิลาจารึก
2.) แบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร
ได้มีการแบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรทวารวดี(นครปฐม)
อาณาจักรละโว้(ลพบุรี) อาณาจักรตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช)
อาณาจักรศรีวิชัย(สุราษฎร์ธานี) อาณาจักรหริภุญชัย(ลำพูน)
3.) แบ่งยุคสมัยตามราชธานี
เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ตามราชธานีของไทยเรียงลำดับ เช่น สมัยสุโขทัย
สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี ปละสมัยรัตนโกสินทร์
4.)
แบ่งยุคสมัยตามพระราชวงศ์ เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามพระราชวงศ์
เช่น สมัยราชวงศ์พระร่วง ของอาณาจักรสุโขทัย สมัยราชวงศ์อู่ทอง
สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ สมัยราชวงศ์สุโขทัย สมัยราชวงศ์ปราสาททอง
สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง โดยทั้งหมดเป็นชื่อ พระราชวงศ์ที่ครองราชย์สมบัติเป็นกษัริย์ในสมัยอยุธยา
ราชวงศ์จักกรีในสมัยรัตนโกสินทร์
5.) แบ่งยุคสมัยตามรัชกาล
เป็นการแบ่งยุคสมัยในช่วงเวลาที่พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นครองราชย์อยู่ ได้แก่
รัชสมเด็จสมัยพระบรมไตรโลกนาถ รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
6.)
แบ่งยุคสมัยตามระบอบการเมืองการปกครอง ได้แก่
สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสมัยประชาธิปไตย โดยถือเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475
เป็นเส้นแบ่งยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย